มะเร็งปอดอาการ หมอโอ๊คเผย 12 ปัจจัยเสี่ยง อาชีพอะไร กินแบบไหนเสี่ยง
มะเร็งปอดอาการ วันที่ 4 มิ.ย.2568 0.5 ราคาบอล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.ศุภฤกษ์ วิจารณาญาณ หรือ หมอโอ๊ค เจ้าของเพจ “หมอโอ๊ค DoctorSixpack” ได้โพสต์ข้อความระบุว่า “ไม่สูบบุหรี่ แต่เป็นมะเร็ง คนไทย 1/4 เสียชีวิต เพราะมะเร็งปอด เช็ก ปัจจัยเสี่ยงก่อนติดเตียง สิ้นลมหายใจ” โดย นพ.ศุภฤกษ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า 12 ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งปอด ที่เพื่อนๆต้องรู้ (แม้ไม่สูบบุหรี่) นอกจากนี้ห้ามพลาดกับทุกเทรนด์เรื่องสุขภาพฟังเวทีเสวนาให้ความรู้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมเวิร์กชอปเพื่อสุขภาพ ยกทัพสินค้า ร้านค้า และนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ รวมถึงกิจกรรมไฮไลต์ที่น่าสนใจอีกมากมาย เว็บสล็อต MPoker
มะเร็งปอดอาการ เป็นอย่างไร และ 12 ปัจจัยเสี่ยง มีอะไรบ้าง
- การสูบบุหรี่ (รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า) ปัญหา : เป็นปัจจัยอันดับ1 ที่ชัดเจนที่สุด ในควันบุหรี่มีสารพิษกว่า 7,000 ชนิด และ กว่า70 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง เช่น Benzene, Formaldehyde, Arsenic สถิติ : 85% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีประวัติสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าก็ไม่ปลอดภัย เพราะมีสารโลหะหนัก และสารเคมีระเหยที่ทำลายเยื่อบุหลอดลมเช่นกัน
- บุหรี่มือสอง (Second-hand smoke) ปัญหา : แค่สูดดมควันจากคนอื่นที่สูบก็ได้รับสารก่อมะเร็งเหมือนกัน งานวิจัยจากWHO: คนที่อยู่ใกล้ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอดขึ้น 20–30% แม้ไม่เคยสูบเองเลยครับ
- ฝุ่น PM2.5 และมลพิษทางอากาศ ปัญหา : ฝุ่นเล็กจิ๋วนี้สามารถลงลึกถึงถุงลมปอด ทำให้เกิด “การอักเสบเรื้อรัง + กลายพันธุ์ของเซลล์” ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (IARC) : จัดให้ PM2.5 เป็น “สารก่อมะเร็งระดับสูงสุด (Group 1 carcinogen)” เมืองใหญ่ = ความเสี่ยงสูง ครับเพื่อนๆ
- การประกอบอาหารในครัวที่อากาศไม่ถ่ายเท ปัญหา : ควันจากน้ำมันที่ร้อนเกินไปโดยเฉพาะในการผัด ทอด หรือย่างแบบไทยๆ ที่ใช้ความร้อนสูง
- ทำงานในอาชีพที่สัมผัสสารเคมี กลุ่มเสี่ยง : ช่างเชื่อม, ช่างไม้, (ฝุ่นไม้) ช่างพ่นสี, คนงานในโรงงานถ่านหิน, ปิโตรเคมี สารเสี่ยง : Asbestos, Radon, Arsenic, Silica → กระตุ้นการกลายพันธุ์ของเซลล์ในปอด
- โรคปอดเรื้อรัง (เช่น ถุงลมโป่งพอง, วัณโรคเก่า) ปัญหา : พื้นฐานของโรคเหล่านี้ทำให้เนื้อเยื่อปอดอักเสบเรื้อรัง และกลายเป็นเซลล์ผิดปกติได้ง่าย คนที่เคยป่วยด้วยวัณโรคหรือ COPD จะมีความเสี่ยงมะเร็งปอดสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า
- พันธุกรรม และประวัติครอบครัว ถ้าในครอบครัวเคยมีคนเป็นมะเร็งปอดโดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 50 ปี จะมีโอกาสถ่ายทอดยีนกลายพันธุ์ที่เพิ่มความไวต่อสารก่อมะเร็ง เช่น EGFR mutation ผู้หญิงเอเชียที่ไม่สูบบุหรี่ แต่มียีน EGFR กลายพันธุ์ = กลุ่มเสี่ยงสูง.
- วิตามินดี3ต่ำ ปัญหา : ร่างกายที่ขาดวิตามินดี จะมีภูมิคุ้มกันเซลล์ต่ำลง ไม่สามารถ “ฆ่าเซลล์ผิดปกติ” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- รับประทานอาหารปิ้งย่าง ไหม้ ทอดซ้ำ ปัญหา : สาร PAHs และ HCAs จากการปิ้งย่างด้วยถ่าน น้ำมันไหม้ และการทอดซ้ำ สามารถเข้าสู่ปอดโดยการสูดดมหรือซึมผ่านผนังลำไส้
- ความเครียดเรื้อรัง/นอนไม่พอ ปัญหา : ฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงเกิน ทำให้ภูมิคุ้มกัน Cellular Immunity ลดลงร่างกายไม่สามารถตรวจจับเซลล์กลายพันธุ์ได้ดี → เปิดโอกาสให้เซลล์มะเร็งเติบโต
- ฮอร์โมนหญิงสูงผิดปกติ (ในบางกรณี) ผู้หญิงบางรายที่ใช้ฮอร์โมนทดแทน หรือฮอร์โมนจากยาคุมต่อเนื่อง อาจเพิ่มความเสี่ยงในบางชนิดของมะเร็งปอด โดยเฉพาะหากร่วมกับปัจจัยแวดล้อมอื่น เช่น ฝุ่น หรือสารพิษ (ไม่ใช่ทุกคนจะเป็น แต่ควรได้รับคำปรึกษาเฉพาะบุคคล)
- ไม่เคยตรวจสุขภาพเลย ปัญหาใหญ่ : มะเร็งปอดมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น คนส่วนมากรู้ตัวตอนระยะ 3หรือ4 แล้ว ซึ่งรักษายาก CT Scan ปอด = ตัวช่วยชีวิต ที่เพื่อนๆ วัย 40++ ควรเริ่มทำปีละครั้ง